ชื่อไทย : เอื้องเหลืองจันทบูร
ชื่อท้องถิ่น : เหลืองจันทบูร/ เอื้องนกขมิ้น(จันทบุรี) 
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium friedericksianum Rchb.f.
ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE
ลักษณะวิสัย : กล้วยไม้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
เป็นลำ โคนและปลายเรียว ยาว 40 – 70 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางต้น 1 – 1.5 ซม. ผิวแห้งเป็นสันและร่องตามยาว
ใบ :
รูปใบหอก ขนาด 8 – 10 ? 2 – 2.5 ซม. แผ่นใบค่อนข้างบาง แต่เหนียว เรียงตัวสลับเกือบตลอดต้น บางครั้งทิ้งใบในช่วงมีดอก
ดอก :
ช่อดอกเกิดใกล้ปลายต้น ช่อละ 3 – 6 ดอก ก้านดอกยาว 5 – 6 ซม. ผิวกลีบมันเล็กน้อย มี 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ที่มีดอกเหลืองล้วน และพันธุ์ที่มีแต้มสีม่วงแดงสองแต้มบริเวณโคนกลีบปาก ดอกขนาด 3.5 – 4 ซม. ดอกบานทน 3 – 4 สัปดาห์
ผล :
ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : กุมภาพันธ์ สิ้นสุดระยะติดดอก : มีนาคม
เริ่มติดผล : สิ้นสุดระยะติดผล :

สภาพทางนิเวศวิทยา :

นิเวศวิทยา ป่าดิบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้

ถิ่นกำเนิด

การกระจายพันธุ์ เป็นกล้วยไม้ที่พบเฉพาะถิ่นของไทย

การใช้งานด้านภูมิทัศน์

การปลูกและการขยายพันธุ์ :

เป็นกล้วยไม้รากอากาศ ชอบอากาศชื้น แยกลำ

รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :
แหล่งอ้างอิง : [1] อบฉันท์ ไทยทอง. 2552. กล้วยไม้เมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 16. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร. [2] ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัด http://www.panmai.com/  23082553
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
กล้วยไม้
ที่อยู่ :
หมายเหตุ :

เป็นกล้วยไม้ที่ปัจจุบันพบน้อยลงมากในธรรมชาติ

ดอกไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี

รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554